ทำความเข้าใจ ก่อนกินเมนูคีโต

ทำความเข้าใจ ก่อนกินเมนูคีโต

อาหารคีโต หรือ การกินแบบคีโตเจนิก (Ketogenic) ได้รับความนิยมในหมู่คนรักสุขภาพ ซึ่งเป็นการกินที่เน้นปริมาณไขมันสูง โปรตีนปริมาณปานกลาง และตามด้วยคาร์โบไฮเดรต (แป้ง) ในปริมาณที่น้อยมาก เพื่อให้ร่างกายของเราดึงพลังงานจากส่วนอื่น ๆ มาทดแทน นั่นก็คือการดึงไขมันที่สะสมในร่างกายมาใช้นั่นเอง หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า “กินคีโต” มาบ้าง เพื่อให้ร่างกายของเราดึงพลังงานจากส่วนอื่น ๆ มาทดแทน นั่นก็คือการดึงไขมันที่สะสมในร่างกายมาใช้นั่นเอง

สำหรับคนเริ่มกินอาหารคีโต สิ่งที่กินจะต้องจำกัดการกินคาร์โบไฮเดรต และไปเพิ่มปริมาณไขมันแทน โดยให้เน้นที่ไขมันจากสัตว์และธรรมชาติ กินไขมันให้หลากหลาย

เนื้อ : เนื้อวัว เนื้อไก่ เนื้อหมู เนื้อปลา เนื้อปลาติดมัน แฮม เบคอน และไข่

ผัก : ผักใบเขียว มะเขือเทศ เห็ด กะหล่ำดอก บรอคโคลี หน่อไม้ฝรั่ง

ไขมัน : น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันหมู น้ำมันพืช กะทิ 

ถั่วเมล็ดเดี่ยว : อัลมอนด์ พิชทาชิโอ วอลนัท เม็ดมะม่วงหิมพานต์ (แต่ไม่ควรกินเยอะ) แมคคาเดเมีย

ผลไม้ : แบล็คเบอร์รี่ อะโวคาโด มะพร้าว เลมอน กูสเบอร์รี่ มะเขือเทศ

เครื่องดื่ม : น้ำเปล่า ชา กาแฟ น้ำโซดา น้ำมะนาว นมอัลมอนด์ เครื่องดื่มจากผงคาเคา

ผลิตภัณฑ์จากนม : ชีส วิปครีม ครีมชีส เนยแท้

ส่วนเมนูที่ควรเลี่ยงได้แก่ อาหารจำพวกที่มีคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลสูง

อาหารที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ : น้ำอัดลม น้ำผลไม้ เค้ก ไอศกรีม ลูกอม ฯลฯ

อาหารประเภทแป้ง : ขนมปังขาว ข้าว (หากจะทานแนะนำให้ทานเป็นข้าวกล้องแดง) เส้น ฯลฯ

ผลไม้ : ผลไม้ที่มีน้ำตาลสูง

พืชหัว : แครอท มันฝรั่ง มันหวาน ฯลฯ

ถั่วที่เป็นฝัก : ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วแระ ฯลฯ

ซอสและน้ำจิ้ม : ซอสมะเขือเทศ น้ำจิ้มแจ่ว ซอสบาร์บีคิว ฯลฯ

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ : เพราะในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มักจะมีคาร์โบไฮเดรตอยู่ด้วย

การกินอาหารคีโตก็ต้องคำนึงถึงพฤติกรรมอื่น ๆ ควบคู่ไปด้วย เช่น กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพอยู่เสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ และดื่มน้ำสะอาดในปริมาณที่ร่างกายต้องการ

ทำความเข้าใจก่อน กินเมนูคีโต

ประเภทของการกินคีโต

Standard ketogenic diet (SKD): เป็นการกินคีโตที่เน้นไขมัน 75% โปรตีน 20% และคาร์โบไฮเดรต 5%

Cyclical ketogenic diet (CKD): เป็นการกินคีโตแบบ 5 วันกินอาหารคีโต อีก 2 วันกินอาหารคาร์โบไฮเดรตสูง

Targeted ketogenic diet (TKD): เป็นการกินอาหารคีโตที่สามารถเพิ่มคาร์โบไอเดรตในช่วงออกกำลังกายได้

High-protein ketogenic diet: เป็นการกินคีโตที่คล้ายแบบ SKD แต่มีการเพิ่มปริมาณโปรตีนเข้าไป เป็น ไขมัน 60% โปรตีน 35% และคาร์โบไฮเดรต 5%

เมนูคีโต 7 วัน

เมนูอาหารคีโต: วันที่ 1         

เช้า: เบคอนทอด ไข่ดาว มะเขือเทศ

กลางวัน: เนื้อไก่ กินกับสลัด

เย็น: เนื้อปลาแซลมอน หรือปลาอื่น ๆ พร้อมหน่อไม้ฝรั่งย่าง

เมนูอาหารคีโต: วันที่ 2

เช้า: บวบผัดไข่

กลางวัน: สลัดไก่ทอด พร้อมบรอคโคลี

เย็น: สปาเกตตี้คาโบนาร่าเส้นบุก

เมนูอาหารคีโต: วันที่ 3

เช้า: ไข่เจียว กับนมอัลมอนด์

กลางวัน: สเต็กหมูย่าง ไข่กวนกับเนยถั่วและผักสลัด

เย็น: ต้มข่าไก่

เมนูอาหารคีโต: วันที่ 4

เช้า: นมอัลมอนด์ ไข่ต้ม

กลางวัน: หมูทอดน้ำปลา กับสลัด

เย็น: แซลมอนย่างเห็ดออรินจิ

เมนูอาหารคีโต: วันที่ 5

เช้า: ไข่กระทะ ใส่หมูสับ

กลางวัน: แกงส้มกุ้งผักบุ้ง

เย็น: คอหมูอบ กับไข่ม้วน

เมนูอาหารคีโต: วันที่ 6

เช้า: ไข่ตุ๋นหน้าหมูสับ

กลางวัน: ตำแตงกวา ไก่ทอด

เย็น: ก๋วยเตี๋ยวหมูเส้นบุก

เมนูอาหารคีโต: วันที่ 7

เช้า: ผักโขมอบชีส

กลางวัน: ผัดคะน้าหมูกรอบ

เย็น: ยำกุ้งเส้นแก้ว

ทำความเข้าใจก่อน กินเมนูคีโต

สำหรับการกินคีโต หรือคีโตเจนิค เราจะเห็นได้ว่ามาอาหารที่ห้ามทานมากมาย และเป็นองค์ความรู้ใหม่ ๆ การกินคีโตก็ไม่ได้เหมาะกับทุกคน ซึ่งการกินคีโตเหมาะกับคนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน ผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือคนที่กำลังหาวิธีพัฒนาระบบเผาผลาญของตัวเอง ส่วนนักกีฬา คนที่ต้องการเพิ่มกล้ามเนื้อและน้ำหนัก ไม่เหมาะกับการกินคีโต และการกินคีโตจะได้ผลดีก็ต้องมีความตั้งใจในการเลือกทาน และทำอย่างต่อเนื่องอีกด้วย

แต่ขณะเดียวกันการกินคีโตก็อาจส่งผลกระทบ และมีผลข้างเคียงในระยะแรก ผู้ที่มีปริมาณคอเลสเตอรอลสูง ก็ควรปรึกษานักโภชนาการ หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อวางแผนการกินอาหารคีโตอย่างถูกวิธี และส่งผลดีต่อสุขภาพ อาการข้างเคียงเช่น รู้สึกคลื่นไส้ ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ท้องผูก เราเรียกอาการเหล่านี้ว่า “Keto Flu” นั้นเองค่ะ

อาหารคีโต ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับคนรักสุขภาพ และผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก โดยไม่ต้องหันไปใช้ยาลดความอ้วนให้เป็นอันตรายต่อชีวิต อีกทั้งยังช่วยฝึกวินัยในการกินอาหารของเราด้วย เป็นอย่างไรกันบ้าง สำหรับ อาหารคีโต ที่ทาง ranryoii.com เอามาฝากกัน ถ้าชื่นชอบฝากกดติดตามเพื่อเป็นกำลังใจให้เราด้วยนะคะ

แนะนำ 9 ต้นไม้ริมรั้วน่าปลูก

“ การปลูกต้นไม้ริมรั้วบ้าน ” นอกจากความคงทนละความงดงาม  ยังช่วยบ้านมีความร่มรื่น ช่วยดูดซับคาร์บอนใดออกไซต์ ควันพิษ เพิ่มออกซิเจน บัดบังแสดงแดด สามารถตัดแต่งได้อย่างง่าย หรือบางบ้านปลูกพืชริมรั้วประเภทผักสวนครัวหรือสมุนไพร สามารถนำมาใช้โยชน์ได้ ส่วนจะมีต้นอะไรบ้าง ตามไปดูพร้อมกันกับ 8 ต้นไม้ริมรั้วน่าปลูก

ต้นไม้ริมรั้วน่าปลูก